หลังจากคราวที่แล้ว ผู้เขียนได้นำเสนอเกี่ยวกับ
การปิดกั้นสิทธิ์ในด้านการแสดงออกและความเสมอภาคทางความคิดเกี่ยวกับการคัด ค้านเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ
( พรบ )การแปรสภาพของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ
ซึ่งก่อให้เกิดเสียงคัดค้านตามมาจากกลุ่ม สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (
สนนท ) และ นักศึกษาจากสถาบันดังกล่าว ซึ่งผลที่ได้รับกลับมาจากเหล่าผู้มีอำนาจในการตัดสินใจครั้งนั้นเป็นอย่างไร
ก็ได้ก็คงเป็นที่ได้ทราบกันแล้ว
หาก จะให้กล่าวถึงคำว่า
มหาวิทยาลัยนอกระบบ ที่จริงเรื่องนี้มีไม่ใช่ประเด็นที่ใหม่อะไรเลยสำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงการ
ศึกษา แต่กลับเป็นนโยบายที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ซึ่งบรรดาผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ทำเรื่องยื่นหลักการต่อ
จอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น แต่ก็ไม่ได้รับความเห็นชอบ
เพียงแต่ได้อนุมัติให้มีการจัดตั้ง
"
ทบวง
มหาวิทยาลัย" ขึ้นเพื่อดูแลมหาวิทยาลัยต่างๆแทนสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม
มหาวิทยาลัยเหล่านั้นก็จะยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบจากระบบของทางราชการ
ก่อน ที่เราจะมาวิเคราะห์ถึงเหตุผลการคัดค้านในครั้งนี้นั้น
คงต้องขอกล่าวถึงความหมายของคำว่า " มหาวิทยาลัยนอกระบบ " ที่ นายปฐมพงศ์ นฤพฤฒิพงศ์
ได้ให้ไว้ในวารสารรัฐสภาสาร ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 เสียก่อน ดังนี้
"
มหาวิทยาลัย
นอกระบบ หรือเรียกอีกอย่างว่า มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ " หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องมีการเปลี่ยนระบบการบริหารและจัดการภายใน
มหาวิทยาลัยจากเดิมที่เป็นไปตามระเบียบราชการที่รัฐบังคับใช้กับทุกหน่วย ราชการไปเป็นการบริหารจัดการตนเองโดยอยู่ในกำกับของรัฐ
ซึ่งมหาวิทยาลัยจะมีอิสระมากขึ้นทั้งในด้านการบริหารบุคคลและระเบียบการเบิก จ่างเงินในระบบราชการเดิม
โดยทบวงมหาวิทยาลัยมีหน้าที่เพียงกำกับดูแลเฉพาะส่วนนโยบายและแผนงานเป็น หลัก
และมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีงบประมาณ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยนอกระบบยังเป็นสถาบันที่เปลี่ยนแปลงปรับปรุงระบบบริหาร
วิชาการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐที่ให้ความเป็นอิสรเสรีภาพในการแสวงหา ความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างเอกเทศอีกด้วย
ซึ่ง จากความหมายที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นแสดงออกให้เห็นถึงความศรัทธาอันน้อยนิดที่
มีให้แก่ระบบข้าราชการไทยที่มีลักษณะเฉื่อยชา ล้าหลังและขาดประสิทธิภาพ เป็นอย่างมาก
เมื่อ มีการนำเอามหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบได้นั้นแน่นอนว่าทางฝ่ายบริหารจะมี
อิสระและอำนาจมากขึ้นทั้งในส่วนของการเบิกจ่ายและด้านการจัดการภายในองค์กร รวมทั้งระบบสวัสดิการในด้านต่างๆเพราะรัฐจะทำหน้าที่เพียงเข้ามาดูแลเฉพาะใน
ส่วนของนโยบายและแผนงานเท่านั้น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาของบุคลากรภายในองค์กรเพราะจะ
ต้องมีการถูกตรวจสอบและประเมิณผลงานกันอย่างอย่างเข้มงวดมากขึ้นซึ่งจะต่าง จากระบบราชการที่ถึงแม้จะมีการประเมิณผลงานกันทุกปีแต่เท่าที่ผ่านมาก็ไม่
แน่ใจนักว่าผลที่ได้จากการประเมิณนั้นจะมีส่วนในการนำมาใช้พัฒนาบุคลากรภาย ในองค์กรมากแค่ไหนเพราะก็อย่างที่เรารู้เห็นกันอยู่ว่าระบบราชการนั้นเรียก
ได้ว่ามีสวัสดิการรองรับและหลักประกันมากที่สุด หากทำงานไปจนถึงอายุ 60 ผลงานดีไม่ดีอย่างน้อยก็ได้เลื่อนขั้นแน่นอน
1 ขั้นทั้งยังมีบำเหน็จบำนาญรองรับหลังเกษียน
จึงทำให้บุคลากรบางส่วนในระบบ ทำงานในลักษณะ " เช้าชามเย็นชาม "
หรือไม่ก็ใช้คำว่า " อาจารย์มหาวิทยาลัย " บังหน้าเพื่อหารายได้พิเศษจากทางอื่น
ซึ่งถ้าจะให้กล่าวว่าบุคลากรไม่ว่าจะในส่วนที่" มีคุณภาพ "และที่ "
ด้อยคุณภาพ " ส่วนหนึ่งส่วนใดมีมากหรือน้อยกว่ากันนั้นผู้เขียนคงไม่ขอกล่าวถึงเพราะภาพ
ที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเราตลอดมานั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นได้เป็นอย่างดี
และ ถึงแม้ว่างบประมาณในบางส่วนจะยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐแต่ก็จะเป็นในอัตรา
ส่วนที่น้อยลง แน่นอนว่าผลกระทบที่ตามมาคือภาระด้านค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการศึกษาจะต้อง
เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับระบบสวัสดิการที่ดีและบุคลากรที่มีความพร้อมความสามารถ มากขึ้น
ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อนักศึกษา ที่ยังไม่มีรายได้อะไรมากมายนักซึ่งเปรียบเสมือนกับเป็นการปิดกั้นโอกาสทาง
การศึกษาแก่ผู้มีรายได้น้อยทางอ้อม และถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
แต่ค่าใช้จ่ายที่ได้ในแต่ละเดือนนั้นนับว่าไม่มากนัก ซึ่งเหมือนเป็นภาระให้นักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในฐานะมีอันจะกินต้องทำงานพิเศษ
เพิ่มขึ้น เพื่อหาเงินมารองรับกับรายจ่าย ซึ่งมั่นใจว่าถึงแม้ว่าการสนับสนุนให้นักศึกษารู้จักหารายได้พิเศษนั้นเป็น
สิ่งที่ดีแต่ถ้าเกิดบีบให้เหมือนว่าเป็นภาระที่หนักหนามากเกินไปนั้นอาจจะ ส่งผลกระทบต่อตารางเวลาและผลการเรียนเป็นแน่
รวม ทั้งความความเสมอภาคทางด้านสาขาวิชาที่อาจส่งผลให้ขึ้นอยู่กับกลไกของการ
ตลาดมากเกินไปซึ่งอาจทำให้บางสาขาวิชาบางแขนง อาจจะมีคนเรียนน้อยลงเพราะคิดว่าเรียนไปแล้วอาจจะไม่เกิดประโยชน์อะไรในภาย
หน้า แม้ว่าพื้นฐานสาขาวิชานั้นๆ อาจจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม ซึ่งหากจะให้วัดกันด้วยเงินนั้นอาจจะทำให้บางรายวิชาที่มีนักศึกษาน้อยต้อง
ปิดตัวลงเพราะงบประมาณด้านการใช้จ่ายที่อาจจะไม่สามารถจัดหาเงินมาเพื่อใช้ ในการบริหารได้อย่างเพียงพอ
ซึ่งต่อไปในอนาคตเราอาจจะได้ยินการเปรียบเทียบผลจากการนำมหาวิทยาลัยออกนอก ระบบว่าเป็น
" ธุรกิจทางการศึกษา" ก็เป็นได้
อีก ทั้งด้านการจัดการเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณทั้งระเบียบของการออกค่าหน่วยกิต
สื่อโสตวัสดุอุปกรณ์ด้านการศึกษา อัตราค่าจ้างบุคลากร รวมทั้งค่าบริหารจัดการในด้านอื่นๆผู้บริหารเองนั้นจะตั้งเกณฑ์ขึ้นมาอย่าง
ไร เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมและเป็นที่ยอมรับได้ของผู้ที่อยู่ภายใน องค์กร
ทั้งระบบที่จะบริหารนั้นจะมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้มากน้อยแค่ไหนเพราะ อย่าลืมว่าต่อไปอำนาจจะตกไปอยู่ในส่วนฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมด
แม้ว่าจะมี คตส. คอยควบคุมดูแลอยู่ก็ตาม
ผู้ เขียนยอมรับว่าบางครั้งการเปลี่ยนแปลงในบางเรื่องนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ดี
แต่ในทางปฏิบัติตอนนี้ประเทศเราพร้อมแล้วหรือเพราะในทุกครั้งที่มีการกล่าว ถึงเรื่องนี้ขึ้นก็มักจะตามมาด้วยกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาคัดค้าน
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ควรจะมีการทำความเข้าใจถึงหลักการและเหตุผลอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของวิชาการและในแง่ของการบริหารอีกทั้งยังควรจัดการลง
ประชามติภายในมหาวิทยาลัยให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณา เพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติ
หรือทุกครั้งที่มีเสียงคัดค้านท่านจะทำเป็นว่า " เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ "
จนไม่สนใจคำทัดทานจากนักศึกษาตาดำๆเลย
แต่ สิ่งที่ทำให้รู้สึกแย่กับเรื่องนี้มากที่สุดคงจะเป็นเหตุผลทางด้านงบประมาณ
ซึ่ง ทั้งที่จริงแล้วการศึกษานั้นเป็นปัจจัยพื้นฐานในการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ เพื่อที่ต่อไปจะได้นำองค์ความรู้ที่ได้มานั้นไปใช้ในการพัฒนาประเทศจึงควร
และจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐในทุกรัฐบาลจะเล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญใน การที่จะสนับสนุนด้านการศึกษาให้กระจายไปสู่กลุ่มชนทุกระดับให้ได้มากที่สุด
ซึ่งอาจจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลแต่แน่นอนว่าผลในระยะยาวนั้นเราจะ สามารถมองเห็นได้ถึงความเจริญของประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเพราะการพัฒนาที่เกิด
จากบุคลากรที่มีความสามารถอย่างแน่นอนแต่ใน พรบ . ฉบับนี้นั้นนอกจากจะไม่ส่งเสริมแล้วยังผลักภาระไปให้แก่นักศึกษา
แถมยังส่งเสริมนักศึกษามองเห็นภาพลักษณ์ทุกอย่างเป็นเศรษฐกิจไปซะหมดจนลืมไป ว่าค่าของความเป็นคนนั้นไม่ได้ชี้วัดกันเพียงแค่ตัวเลขทางเศรษฐกิจเพียง
อย่างเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น